แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ รับดูแลผูป่วย แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ รับดูแลผูป่วย แสดงบทความทั้งหมด

วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

โรคหลอดเลือดสมอง( Stroke) By SANSIRI HOME CARE

แสนสิริ เนอสซิ่ง โฮม. . โรคหลอดเลือดสมอง (stroke) คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากหลอดเลือดตีบ หลอดเลือดอุดตัน หรือหลอดเลือดแตก ส่งผลให้เนื้อเยื่อในสมองถูกทำลาย แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้ 1. หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (ischemic stroke)เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง พบได้ประมาณ 80%เกิดได้จาก ลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นในบริเวณอื่นไหลไปตามกระแสเลือดจนไปอุดตันที่หลอดเลือดสมอง หรืออาจ เกิดจากมีลิ่มเลือดก่อตัวในหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดสมองตีบอาจเกิดจากการสะสมของ ไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบแคบ มีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพในการลำเลียง เลือดลดลง 2.หลอดเลือดสมองปริแตกหรือฉีกขาด (hemorrhagic stroke) พบได้ประมาณ 20% ของโรคหลอดเลือดสมอง เกิดจากหลอดเลือดมีความเปราะบางร่วมกับภาวะความดันโลหิตสูงทำให้บริเวณที่เปราะบางนั้น แตกออกหรืออาจเกิดจากหลอดเลือดเสียความ ยื หยุ่น จากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดปริแตกได้ง่าย ทำให้เกิดเลือดออกในสมอง ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็วได้ ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันไม่ได้ 1.อายุเมื่ออายุมากขึ้นหลอดเลือดก็จะเสื่อมโดย ผิวชั้นในของหลอดเลือดจะหนาและแข็งขึ้น จากการที่มีไขมันและหินปูนมาเกาะรูที่เลือดไหล ผ่านจะแคบลงเรื่อยๆ 2.เพศพบว่าเพศชายมีความเสี่ยงต่อโรคหลอด เลือดสมองสูงกว่าเพศหญิง 3.ภาวะการแข็งตัวของเลือดเร็วกว่าปกติส่งผล ให้เกิดการจับตัวกันของเม็ดเลือดและมีลิ่มเลือดเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าคนปกติ ปัจจัยเสี่ยงที่ป้องกันได้ 1.ความดันโลหิตสูงมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือด สมองได้มากกว่าคนปกติ 2.เบาหวานเป็นสาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดแข็ง ทั่วร่างกายหากเกิดที่สมองจะมีโอกาสเป็นโรค หลอดเลือดสมองมากกว่าคนปกติ 2-3 เท่า 3.ไขมันในเลือดสูง 4.โรคหัวใจเช่นโรคลิ้นหัวใจผิดปกติหัวใจเต้นผิด จังหวะ เป็นสาเหตุของการเกิดลิ่มเลือด ไปอุดตันที่หลอดเลือดสมองก็จะทำให้สมองขาดเลือดได้ เกิดอัมพาต 5.การสูบบุหรี่ 6.ยาคุมกำเนิดในผู้หญิงที่ใช้ยาคุมกำเนิดที่มีฮอร โมนเอสโตรเจนสูงจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสูงฃึ้น เกิดจากมีลิ่มเลือดก่อตัวในหลอดเลือดสมอง หลอดเลือดสมองตีบอาจเกิดจากการสะสมของ ไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบแคบ มีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพในการลำเลียง เลือดลดลง ในปัจจุบันมีวิธีการตรวจวินิจฉัยที่มีประสิทธิภาพและสามารถบ่งชี้ถึงตำแหน่งของสมองและหลอดเลือดที่ผิดปกติ รวมถึงภาวะและสาเหตุที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดสมองได้ เช่น การตรวจเลือดเพื่อดูความเข้มข้นและความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด computerized tomography) เพื่อดูว่าสมองมีภาวะขาดเลือดหรือภาวะเลือดออกในสมองหรือไม่ การตรวจอัลตราซาวนด์หลอดเลือดบริเวณคอ (carotid duplex scan) เพื่อดูขนาดและการไหลเวียนของหลอดเลือดแดงบริเวณคอที่ไปเลี้ยงสมองด้วยคลื่นความถี่สูง การตรวจสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (magnetic resonance imaging) เพื่อดูเนื้อสมอง หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดที่คอ เป็นวิธีการที่ไม่เจ็บปวดและมีประสิทธิภาพสูง การรักษา การรักษาขึ้นกับสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมองว่าเป็นหลอดเลือดสมองตีบหรือหลอดเลือดสมองแตก โดยจะมีแนวทางการรักษาที่แตกต่างกัน หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน เป้าหมายของการรักษาคือทำให้เลือดไหลเวียนได้อย่างปกติ โดยทางเลือกในการรักษามีหลายวิธี ในบางกรณีแพทย์อาจให้ยาละลายลิ่มเลือด ซึ่งพบว่าจะได้ผลดีกับผู้ที่มีอาการและอาการแสดงของโรคหลอดเลือดสมองและรีบมาโรงพยาบาลภายในระยะเวลาไม่เกิน 4.5 ชั่วโมง หลอดเลือดสมองปริแตกหรือฉีกขาด เป้าหมายของการรักษาคือการควบคุมปริมาณเลือดที่ออกด้วยการรักษาระดับความดันโลหิต ในกรณีที่เลือดออกมาก แพทย์อาจพิจารณาทำการผ่าตัดเพื่อป้องกันความเสียหายต่อสมองที่อาจเกิดขึ้นหากมีการเปลี่ยนแปลงความดันโลหิต By sansiri  home care

Now Open ข้อมูลเพิ่มเติมสาขาพระราม 2

www.sansirihomecare.com

วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Sansiri Home Careแนะนำสาระดีๆเกี่ยวโรคเก๊าท์


Sansiri Home Care

เป็นสถานรับดูแลผู้สูงอายุทั้งแบบประจำและไปกลับ ผู้ป่วยที่ดูแลช่วยเหลือตัวเองได้น้อย ใส่สายสวนปัสสาวะ ใส่สายให้อาหาร มีแผลกดทับ ดูแลด้วยพยาบาลวิชาชีพและผู้ช่วยพยาบาลที่มีประสบการด้านการดูแลผู้สูงอายุ
******************************

Sansiri Home Care ยังเป็นศูนย์ที่ดูแลควบคุมอาหาร สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้ซึ่งจะมีผลต่อการหายของแผลกดทับ
มีการปรับปรุงสูตรอาหารเฉพาะโรคสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคไต หัวใจและความดันโลหิตสูง


โรคเก๊าท์
โรคข้อชนิดหนึ่ง เกิดจากการตกตะกอนของกรดยูริค ภายในข้อ ซึ่งกรดยูริคมาจากสารพิวรีนที่มีมากในอาหาร

สิ่งที่เกิดกับร่างกาย
1. ผู้ที่เป็นโรคนี้ต้องรักษาตลอดชีวิต เป็นๆหายๆ
2.จะเจ็บปวดในเวลาที่โรคกำเริบ
3.หากปล่อยทิ้งไว้นานๆ จะทำให้ข้อบิดเบี้ยวเดินลำบากและพิการได้

การวินิจฉัย
1.ผู้เป็นโรคเก๊าท์จะมีอาการปวดข้ออย่างเฉียบพลัน ครั้งแรกพบมากที่ข้อเท้าหรือข้อหัวแม่เท้า โดยจะปวดบวมแดง ร้อน เวลากดหรือขยับข้อจะเจ็บมาก อาจมีไข้รวมด้วย
2.เจาะเลือผลยูริคสูงกว่าปกติ(ไม่เกิน 7 มิลิกรัม/เลือด 100 มิลลิลิตร)

สาเหตุ
1.กินอาหารที่มีพิวรีนมาก เช่น ตับไต สมองและกินอาหารไขมันมากทำให้การขับกรดยูริคได้น้อย
2.ร่างกายมีการขับกรดยูริคมากขึ้นมักเกิดจากกรรมพันธุ์และเพศ
3.การตดื่มเหล้าและเบียร์
4.ยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันโลหิต ทำให้มีกรดยูริคสูงในเลือด
5.เหตุอื่นๆ เช่น บาดเจ็บ การผ่าตัด ความเครียด มีทำให้กรดยูริคในเลือดสูง

การป้องกันและควบคุมอาการของโรค
1.กินอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
2.หลีกเลีายงหรืองดการดื่มเบียร์และเหล้า
3.ดื่มน้ำมากๆเพื่อขับกรดยูริค
4.พยายามทำจิตใจให้ร่าเริ่งสดใส ไม่เคร่งเครียดจากการทำงานมากเกินไป
5.ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
6.งดทานอาหารที่มีสารพิวรีนสูง



สนใจติดต่อสอบถามเพื่อขอทราบรายละเอียดโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ที่เบอร์ 090569794,0879957377
สำนักงาน027464838AX 027464838

คุณสุธัญญา
https://www.facebook.com/sansiri.nursing.care