แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ รับดูแลผู้ป่วย แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ รับดูแลผู้ป่วย แสดงบทความทั้งหมด

วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

การดูแลผู้สูงอายุทีมีภาวะสมองเสื่อม



ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ พระราม2


 โรคสมองเสื่อม ภาวะสมองเสื่อมเป็นแค่อาการแสดงอย่างหนึ่ง ของโรค ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ ความหมายโดยทั่วไปของสมองเสื่อมคือ การด้อยประสิทธิภาพในการทำงานของสมองทุกๆ ด้าน แบบค่อยเป็นค่อยไป เช่น ความสามารถในการเรียนรู้ ความจำเลวลง การคำนวณ หรือการใช้ความคิดที่สลับ ซับซ้อน รวมถึงประสิทธิภาพทางการสื่อภาษา การแสดงอารมณ์ที่ผิดจากเดิม โกรธ ไม่กิน ไม่นอน สาเหตุของโรคสมองเสื่อม 1. สมองเสื่อมจากวัยชรา 2.โรคอัลไซเมอร์ 3. เกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ 4. ภาวะเลือดคั่งในสมอง หรือเนื้องอกในสมอง 5. ภาวะขาดวิตามิน บี12 6. โรคติดเชื้อที่มีผลทางสมอง 7. สมองเสื่อมจากการติดสุราเรื้อรังนานๆ ภาวะที่เกิดตามหลังการขาดออกซิเจน



  



 หลักการดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม
 1. ผู้ดูแล,ญาติ,คนรอบข้าง ต้องเข้าใจภาวะสมองเสื่อมที่เกิดขึ้น - ไม่โกรธ หรือโมโห ถ้าผู้ป่วยทำอะไรไม่เหมาะสม - อาการหรือพฤติกรรมที่เกิดขึ้น เกิดจากโรคที่ทำให้มีอาการเช่นนั้น - ไม่หัวเราะ หรือขำพฤติกรรมต่างๆ เพราะอาจกระตุ้นอาการได้ - ไม่พยายามบังคับให้ผู้ป่วยจำ หรือทำในสิ่งที่ไม่คุ้นเคย - ถ้าผู้ป่วยหงุดหงิด ควรหยุดพฤติกรรมทันที - ยืดหยุ่น ปรับตัว และยอมรับการเปลี่ยนแปลง - ลดความคาดหวังในตัวผู้ป่วยลง 2. ดูแลเหมือนผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง ที่ต้องให้ : - ความเคารพ (ให้เกียรติในการตัดสินใจบางอย่าง) ขอความเห็น , บอกให้ทราบ - ความเอาใจใส่ ถามความรู้สึก 3. การจัดสภาพแวดล้อม ให้ผู้ป่วยอยู่ในที่คุ้นเคย เช่น บ้านตนเอง, เครื่องใช้ในบ้าน ไม่ควรมีการเคลื่อนย้ายบ่อย หรือไม่เป็นระเบียบ, สิ่งแวดล้อมปลอดภัย ไม่ลื่นล้มง่าย, การเปิดวิทยุ,โทรทัศน์ไม่ควรมีเสียงดังหรือเร็วเกินไป, ควรมีผู้ดูแลประจำ, ระวังการตกระเบียง, ระวังเรื่องไฟ,ทางเดินไปห้องน้ำควรสะดวก ชัดเจน,แสงสว่างเพียงพอในที่ที่ผู้ป่วยเดินไปถึง ระวังแสงที่ทำให้เกิดเงา,กระจกควรมีเฉพาะที่แต่งตัวและที่อาบน้ำ


www.sansirihomecare.com

วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

Parkinson


Parkinson



พาร์กินสันเป็นโรคที่เกิดจากพยาธิสภาพที่ basal ganglia บริเวณ substantia nigra ทำให้มีการผลิตสารสื่อประสาทที่ชื่อ สารโดปามีนน้อยลง ส่งผลให้สมองสูญเสียการควบคุมการสั่งงานของกล้ามเนื้อ
สาเหตุของโรคพาร์กินสัน

ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพาร์กินสันอย่างแน่ชัด แต่เชื่อว่ามีปัจจัยที่อาจส่งผลให้เกิดโรคพาร์กินสันได้ ได้แก่
ปัจจัยทางพันธุกรรม ในรายที่มียีนผิดปกติอาจเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคพาร์กินสันได้
ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่น การได้รับสารบางอย่างเป็นเวลานานๆ ไม่ว่าจะโดยการสูดดมหรือการรับประทาน หากแต่ยังไม่ทราบว่าสารใดในสิ่งแวดล้อมที่มีส่วนทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน




ลักษณะอาการในระยะแรกที่ชัดเจนในผู้ป่วยพาร์กินสัน  คือปัญหาด้านกล้ามเนื้อ ดังนี้
- akinesia (มีปัญหาในการเริ่มการเคลื่อนไหว)
- bradykinesia (การเคลื่อนไหวช้า)
- muscle rigidity (กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง)
- resting tremor (มีอาการสั่นขณะพัก)
- abnormalities of posture, gait, and balance (มีลักษณะการเดินที่ช้าลง ไหล่งุ้ม และล้มง่าย)
อาการอื่นๆที่พบคือ
- การเขียนตัวอักษรเล็กลง
- มีปัญหาด้านการพูด แบบ dysarthria
- ขณะเดินมีการแกว่งแขนน้อยลง
- เดินแบบก้าวสั้นๆ และโน้มตัวไปก่อนที่จะก้าวขา ที่เรียกว่า shuffling gait
- ไม่ค่อยกระพริบตา มีอาการตาแห้ง
- มีอาการเครียด วิตกกังวล
- มีปัญหานอนไม่หลับและมีความดันโลหิตลดลง
- ผิวหนังมีปัญหา เช่น รังแค หรือผิวมันผิดปกติ
- เกิดอาการความดันตกในขณะเปลี่ยนท่า ทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการล้ม
- การควบคุมอุณหภูมิของร่างกายผิดปกติ
- สูญเสียการควบคุมระบบขับถ่าย
-  มีปัญหาเกี่ยวกับระบบการรับความรู้สึก เช่น มีอาการปวด ชา ปวดแสบร้อน ปวดศีรษะ 
ปวดหลังโดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน





โดยศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์

วันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

อาการเจ็บปวดข้อไหล่และมือในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก

อาการเจ็บปวดข้อไหล่และมือในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก

ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกในระยะ 1 – 3 สัปดาห์แรก จะมีอาการอ่อนแรงในลักษณะอ่อนปวกเปียก ภายหลังจากนี้กล้ามเนื้อจะปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระยะการเกร็งตัวซึ่งจะทำงานในลักษณะหดสั้นตลอดเวลา ยกเว้นขณะนอนหลับ กล้ามเนื้อใดที่มีการเกร็งตัวมากก็จะมีการหดตัวมาก

ปัญหาของผู้ป่วยที่มีการเจ็บปวดข้อไหล่และมือค่อนข้างสูง เนื่องจาก

  1. การเกร็งตัวของกล้ามเนื้อบริเวณหน้าอก หัวไหล่และศอก
  2. การเคลื่อนไหวข้อไหล่ที่ไม่ถูกต้อง เช่น การ เหวี่ยง หรือ การกระชากแขน การทิ้งแขนห้อยข้างลำตัวหรือการนอนทับเป็นเวลานาน
  3. การลดลงของการเคลื่อนไหวข้อไหล่หรือแขน เนื่องจากกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  4. จากผู้เฝ้าไข้ดึงแขนของผู้ป่วยแทนการยกตัวจากการดึงเข็มขัด
    ส่งผลให้ เนื้อเยื่อหุ้มข้อไหล่และกล้ามเนื้อบริเวณข้อไหล่ เกิดการ หดรั้ง และ สั้น อีกทั้งยังมีการเลื่อนหล่นของข้อไหล่ เนื่องจากกล้ามเนื้อรอบข้อไม่แข็งแรง หรือไม่สมดุล

วงจรจากการเจ็บปวดข้อไหล่


วิธีการป้องกันปัญหาการเจ็บปวดข้อไหล่และมือ

หลีกเลี่ยงท่าทางดังต่อไปนี้
  1. การนอนทับแขนด้านที่ไม่มีแรงเป็นระยะเวลานานๆ
  2. การดึงหรือการกระชากแขนด้านที่ไม่ทีแรงและการห้อยแขนทิ้งข้างลำตัว
          ให้ญาติช่วยเคลื่อนไหวแขนด้านที่อ่อนแรงเป็นจังหวะช้าๆ และนุ่มนวล ท่าละประมาณ 10 – 15 ครั้งดังภาพ
                                                                                                                               
1.ท่ายกแขนขึ้นเหนือศีรษะ
นอนหงาย จับบริเวณศอก ข้อมือและนิ้วมือ ให้ เหยียดตรง
ยกแขนขึ้นจนติดศีรษะ แล้วเอาลง สลับกัน

2. ท่ากางแขนพร้อมหมุนออก 
นอนหงาย จับข้อศอก ข้อมือและนิ้วมือให้อยู่ใน แนวตรง แล้วกางแขนออกห่างจากลำตัว พร้อมหมุนแขนออก (ฝ่ามือหงายขึ้น) จากนั้นหุบแขนเข้า ทำสลับกัน




3. ท่ายืดสะบักไปด้านหน้าและกลับด้านหลัง
นอนตะแคง วางแขนผู้ป่วยบนแขนท่อนล่างของเรา จัดให้ข้อศอกอยู่ในแนวตรง มืออีกด้านจับบริเวณสะบักให้ออกแรงที่มือด้านนี้
ขยับสะบักมาด้านหน้าจนสุดแล้วดันกลับไปด้านหลัง ทำสลับกัน



4. ท่าเหยียดแขนไปด้านหลัง
นอนตะแคง มือด้านหนึ่งจับที่ศอก อีกด้านจับที่นิ้วมือให้เหยียดตรง ญาติช่วยขยับแขนไปด้านหลัง จากนั้นเคลื่อนกลับที่ข้างลำตัว ทำสลับกัน


5. ท่างอและเหยียดข้อมือและนิ้วมือ
นอนหงายหรือนั่ง จับมือผู้ป่วยแล้วขยับข้อมืองอและเหยียดสลับกัน สำหรับนิ้วมือให้จับแบบมือให้สุดและกำมือ ดังภาพ ในกรณีมีหลังมือบวมให้เน้นแบบมือ ห้ามกำมือโดยเด็ดขาด






6. ท่านั่ง จัดให้ผู้ป่วยนั่งเท้าแขน หรือจัดหมอนรองรับ ดังภาพ


                 


โดยศูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์

วันจันทร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2561

การออกกำลังกายเพื่อป้องกันข้อติดหรือเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ

การออกกำลังกายเพื่อป้องกันข้อติด หรือเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ
(range of motion exercise : ROM)




เมื่อมีการอักเสบ บาดเจ็บ หรือขาดการเคลื่อนไหว (immobilization) จะมีผลทำให้พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อค่อยๆลดลง ในผู้ที่ยังไม่มีข้อติดแต่เสี่ยงต่อภาวะข้อติดเช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรง มีภาวะกล้ามเนื้อเกร็ง หรือบวมรอบๆข้อ การขยับข้อให้สุดพิสัยการเคลื่อนไหวทำเพื่อป้องกันข้อติด แต่ในผู้ป่วยที่มีข้อติดแล้วการขยับข้อทำเพื่อเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ
การยึดติดของข้อเกิดจากการหดสั้นของกล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อรอบข้อ การหล่อลื่นของข้อลดลง การเพิ่มของเนื้อเยื่อชนิด collagen และ reticulin ทำให้ connective tissue แปลงสภาพจาก loose connective tissue กลายเป็น dense connective tissue ซึ่งจะเกิดในข้อที่ขาดการเคลื่อนไหว (immobility)นานเกิน 1 สัปดาห์ หรือถ้ามีการอักเสบหรือการขาดเลือดมาเลี้ยง การเปลี่ยนแปลงนี้จะยิ่งเร็วขึ้น
Range of motion exercise (ROM exercise) แบ่งออกได้เป็น 4 แบบคือ
  1. Active exercise คือให้ผู้ป่วยออกแรงขยับข้อเองทั้งหมด
  2. Acitive-assistive exercise คือให้ผู้ป่วยออกแรงขยับให้เต็มที่ก่อนแล้วใช้แรงจากภายนอกหรือผู้อื่นช่วยขยับต่อจนสุดพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ
  3. Passive  exercise คือให้ผู้ช่วยหรือใช้แรงจากภายนอกเป็นผู้ขยับตลอดพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ โดยผู้ป่วยไม่ได้ออกแรงเลย
  4. Passive stretching exercise คือผู้ช่วยหรือผู้บำบัดช่วยดัดยืดเพื่อเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวข้อในกรณีที่มีข้อติด
หลักการ
- ถ้ายังไม่มีข้อติด ทำเพื่อป้องกัน โดยเคลื่อนไหวข้อจนครบพิสัยของข้อนั้นอย่างน้อยวันละ 2รอบ (set) รอบละ 3 ครั้ง (repetition) ซึ่งจะทำเป็น active หรือ passive ROM exercise ก็ได้
- ถ้ามีข้อติด ต้องใช้การดัดยืด (stretching) คือมีแรงมากระทำที่มากพอจนทำให้เนื้อเยื่อนั้นมีการเปลี่ยนรูป (deformation) ซึ่งต้องทำบ่อยและค้างไว้นานพอ (ยังไม่มีการศึกษาที่ชัดเจนเกี่ยวกับระยะเวลา จำนวนครั้งและความถี่) โดยทั่วไปดัดค้างไว้ประมาณ 15-30 วินาที
การดัดยืด (stretching exercise)
- ควรใช้แรงขนาดที่ทำให้เกิดการเจ็บตึงเล็กน้อย แต่อาการเจ็บนั้นควรหายไปหลังสิ้นสุดการดัดข้อ
- ควรใช้แรงน้อยๆแต่นาน ดีกว่าใช้แรงมาก แต่ทำด้วยเวลาสั้นๆ หรือออกแรงกระตุก
- ควรให้ผู้ป่วยออกแรงขยับข้อจนสุดพิสัยที่ทำได้เองก่อน (active  exercise) แล้วผู้ช่วยจึงออกแรงช่วยดัดต่อ (passive stretching exercise) ในขณะที่ให้ผู้ป่วยพยายามหย่อนกล้ามเนื้อ หรือในกรณีที่ติดมากผู้ป่วยไม่สามารถขยับได้เลยให้ผู้ป่วยพยายามหย่อนกล้ามเนื้อแล้วให้ผู้ช่วยดัด
- การให้ความร้อนก่อนหรือระหว่างการดัดข้อจะทำให้ได้ผลดียิ่งขึ้น เช่น การแช่น้ำร้อน การใช้paraffin กระเป๋าน้ำร้อน หรือใช้ความร้อนลึกเช่น ultrasound และใช้ความเย็นประคบข้อหลังดัดข้อเพื่อลดอาการปวดระบม
- ในกรณีที่มีภาวะเกร็ง (spastic) มากควรรักษาภาวะเกร็งร่วมด้วย เช่น การใช้ยารับประทาน การฉีดยาลดเกร็ง (neurolysis) การแก้ไขสาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดอาการเกร็ง
- ต้องระมัดระวังการดัดข้อที่มีการบวมหรือการอักเสบเนื่องจาก tensile strength ของเนื้อเยื่อรอบข้อน้อยลงได้ถึง 50% ทำให้มีโอกาสเกิดการฉีกขาดหรือบาดเจ็บได้ง่าย
- ข้อศอกเป็นข้อที่ไม่แข็งแรง เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อรอบข้อได้ง่าย อาจเกิดภาวะ myositis ossificans ซึ่งทำให้ข้อติดมากขึ้นได้ การดัดข้อศอกจึงต้องระมัดระวังและไม่ใช้แรงดัดมากเกินไป
- ข้อนิ้วมือควรมีการขยับ (mobilization) นวด (massage) เนื้อเยื่อรอบๆก่อนการดัด
- ข้อสะโพก ในผู้ป่วยที่นอนอยู่บนเตียงนานๆ มีโอกาสเกิดข้อสะโพกติดในท่างอจึงควรดัดสะโพกร่วมด้วยในผู้ป่วยที่ต้องนอนนาน
- ข้อเท้า มักติดในท่าเท้าตก (equines deformity) ควรดัดโดยใช้มือจับส้นเท้า แขนสัมผัสทั้งฝ่าเท้า แล้วโน้มตัวดัดให้ทั้งฝ่าเท้ากระดกขึ้น ไม่ควรออกแรงแต่ที่ปลายเท้าเพราะจะทำให้เกิด Rocker-bottom deformity ได้
ข้อห้ามของการดัดข้อ
- bony block
- recent fracture
- acute inflammation / infection ของข้อหรือบริเวณรอบข้อที่จะทำการดัด
- hematoma / uncontrolled bleeding
- joint effusion
- contracture ที่ทำให้เกิดความมั่นคงของข้อ การยืดดัดอาจทำให้เสียความมั่นคงของข้อได้
สนใจสอบถามรายละเอียด เกี่ยวกับสูนย์ดูแลผู้สูงอายุแสนสิริ โฮมแคร์ ทั้ง 4 สาขา
TEL.096-405-1562,02-050-1900
www.sansirinursingthailand.org
www.sansirihomecare.com
www.nursingthailand.org
www.sansirinursinghome.com
www.bangkok-nursinghome.com