แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ nursinghome แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ nursinghome แสดงบทความทั้งหมด

วันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

การประเมินการกลืนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง



การประเมินการกลืนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

การประเมินการกลืนโดยใช้ PMR Siriraj Swallowing Screening

         โดยจะเริ่มประเมินการกลืนในผู้ป่วยที่มีอาการค่อนข้างคงที่ โดยสามารถ 1) ยกแขนได้สูงประมาณ 75-90 องศา นาน 15 นาที และ 2) สามารถที่จะทำได้ตามสั่งได้อย่างน้อย 2 คำสั่ง ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถกระทำได้ครบทั้งสองข้อ ก็ให้งดอาหารและน้ำทางปากต่อไป แต่ถ้าหากผู้ป่วยสามารถกระทำได้ทั้งสองข้อ ก็ให้ทำการทดสอบดังต่อไปนี้
         ขั้นตอนที่ 1 ทดสอบ Gag Reflex โดยให้ผู้ป่วยหุบปากหรือปิดปากได้โดยไม่มีน้ำลายไหลออกมามุมปาก และให้เคลื่อนไหวลิ้นไปมา
         ขั้นตอนที่ 2 ทดสอบ Voluntary Cough โดยให้ผู้ป่วยไอ
         ขั้นตอนที่ 3 ทดสอบ Dry Wwallow โดยให้ผู้ป่วยกลืนน้ำลายของตัวเอง
         ถ้าในการทดสอบผู้ป่วยสามารถผ่านได้ทั้งสามขั้นตอนก็ให้เริ่มทดสอบการกลืนน้ำต่อไป แต่ถ้าหากผู้ป่วยไม่สามารถผ่านได้มากกว่าหนึ่งข้อ ก็ต้องงดให้อาหารและน้ำทางปาก แล้วส่งปรึกษา OT เพื่อทำ Oromotor Exercise and Stimulation ต่อไป

สำหรับการทดสอบการกลืนน้ำมีขั้นตอนดังนี้

         ขั้นตอนที่ 1 เริ่มให้น้ำครั้งละ 1 ช้อนชา จำนวน 3 ครั้ง โดยในแต่ละครั้งให้สังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ เช่น มีไอ เสียงเปลี่ยน ลักษณะการกลืนช้าหรือยากหรือไม่
         ขั้นตอนที่ 2 ถ้าไม่ผ่านให้ส่งผู้ป่วยปรึกษา OT เพื่อ Oromotor Exercise and Stimulation ต่อไป แต่ถ้าหากสามารถผ่านทั้ง 3 ครั้ง ก็ให้ทดสอบโดยการดื่มน้ำประมาณ 90 ซีซี ถ้าสามารถทำได้ก็ให้เริ่มรับประทานอาหารทางปากได้ โดยเลือกชนิดของอาหารให้เหมาะสมกับสภาพของผู้ป่วย พร้อมทั้งสังเกตอาการหรือประเมินการกลืนของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดในการรับประทานอาหารโดยเฉพาะในมื้อแรก แต่ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถผ่านในขั้นตอนที่ 2 ให้ส่งผู้ป่วยไปฝึกการกลืนและหรือมีการปรับลักษณะของอาหารให้เหมาะสมกับผู้ป่วย

การประเมินการกลืนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของสถาบันประสาทวิทยา

  ข้อบ่งชี้สำหรับในการประเมินการกลืนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่สถาบันประสาทวิทยา            กำหนดไว้มีดังนี้ 
1) ผู้ป่วยจะต้องสามารถนั่งทรงตัวได้ดี 
2) สามารถสื่อสารและทำตามคำสั่งได้ และ 
3) มีคะแนน Glasgow Coma Scale มากกว่า 11 คะแนน ถ้าประเมินแล้วพบว่า ผู้ป่วยผ่านเกณฑ์ดัง         กล่าวขั้นต้น ก็ให้เริ่มประเมินการกลืนได้โดยมีวิธีการและขั้นตอนดังนี้

         1. ให้ผู้ป่วยนั่งตัวตรง 90 องศา แล้วให้จิบน้ำเปล่า 1 ช้อนชา ถ้าพบว่า มีน้ำไหลออกจากปากก็งดให้อาหารและน้ำทางปากอย่างเด็ดขาด แล้วส่งปรึกษา Dysphagia Nurse/OT ต่อไป แต่ถ้าหากผู้ป่วยสามารถกลืนน้ำได้ไม่มีไหลออกจากปาก ก็ให้ทำขั้นตอนที่ 2 ต่อ
         2.ให้ผู้ป่วยจิบน้ำเปล่าช้อนชาที่ 2 ถ้าหลังจิบน้ำแล้วมีไอ สำลัก เหนื่อย หายใจเร็วหรือมีเสียงน้ำในลำคอ ให้งดอาหารและน้ำทางปากอย่างเด็ดขาด แล้วส่งปรึกษา Dysphagia Nurse/OT ต่อไป แต่ถ้าหากผู้ป่วยสามารถกลืนน้ำได้โดยไม่มีอาการดังกล่าว ก็ให้ทำขั้นตอนที่ 3 ต่อ
         3. ให้ผู้ป่วยจิบน้ำเปล่าช้อนชาที่ 3 ถ้าหลังจิบน้ำแล้วมีอาการผิดปกติดังในข้อที่ 3 ก็ให้งดอาหารและน้ำทางปากอย่างเด็ดขาด แล้วส่งปรึกษา Dysphagia Nurse/OT แต่ถ้าหากผู้ป่วยสามารถกลืนน้ำได้โดยไม่มีอาการดังกล่าว ก็ให้ทำขั้นตอนที่ 4 ต่อ
         4. ให้ผู้ป่วยทดลองดื่มน้ำครึ่งแก้วหรือประมาณ 50 ซีซี ถ้าสามารถทำได้โดยไม่มีอาการผิดปกติ ก็สามารถให้รับประทานอาหารและน้ำได้ตามแผนการรักษาของแพทย์ แต่ต้องประเมินการกลืนอีกครั้งในมื้อถัดไป

การประเมินการกลืนในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

         ในการทดสอบการกลืนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จะมีขั้นตอนดังนี้
         1. เริ่มทดสอบด้วยอาหารประเภทฟักทองบด โดยใช้ช้อนตักฟักทองให้พอคำ ป้อนผู้ป่วยครั้งละ 1 ช้อน ถ้าหากช้อนแรก ไม่มีปัญหาก็ให้ป้อนอีก 2-3 ช้อน
         2. หลังจากนั้นให้ทดสอบด้วยน้ำผึ้ง โดยตักน้ำผึ้งป้อนผู้ป่วยครั้งละ 1 ช้อน ถ้าช้อนแรก ไม่มีปัญหาให้ป้อนอีก 2-3 ช้อน เช่นกัน
         3. ในขั้นตอนนี้จะทดสอบการกลืนด้วยอาหารประเภท Cracker โดยจะแบ่ง Cracker เป็นชิ้นพอคำป้อนให้ผู้ป่วย 3-4 คำ
         4. ถ้าในแต่ละขั้นตอน 1-3 ผู้ป่วยไม่มีอาการผิดปกติใดๆ ในขั้นตอนสุดท้ายก็จะให้ผู้ป่วยทดสอบด้วยการกลืนน้ำ โดยใช้ช้อนป้อนให้
         ข้อสังเกตสำหรับการทดสอบวิธีนี้จะเห็นว่า อาหารที่ใช้ทดสอบจะเรียงจากอาหารที่สามารถกลืนได้จากง่ายไปยาก โดยความหนืดข้นของอาหารจะมีจากมากไปน้อย ดังจะเห็นได้จากน้ำซึ่งกลืนยากที่สุดแต่กลับมีความหนืดข้นน้อยที่สุด จะถูกนำมาทดสอบในขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งการแบ่งประเภทของอาหารที่จำแนกตามความหนืดของอาหาร จะสามารถแบ่งออกได้ดังนี้

         1. อาหารข้นเป็นเนื้อเดียว (Pureed Diet)
         2. อาหารเหลวมีความชุ่มชื้นสูงเนื้ออาหารอ่อนนิ่ม และกลืนได้ง่าย (Mechanical Altered Diet)
         3. อาหารที่มีความแข็งและเหนียวใกล้เคียงอาหารปกติ แต่ชิ้นเล็กกว่า(Dyaphagia      Advanced)
         4. อาหารปกติ (Regular Diet)
         
          นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ได้ศึกษาเปรียบเทียบชนิดของอาหารที่มีผลต่อการกลืนของผู้ป่วยที่มีปัญหาทางระบบประสาท โดยทำการเปรียบเทียบการกลืนโดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มแรกใช้ชุดทดสอบการกลืน (n=19) และกลุ่มที่สองใช้น้ำอย่างเดียว (n=14) ผลการวิจัยที่แบ่งออกตามระดับของคะแนนที่ประเมินโดยใช้ National Institute of Health Stroke Scale (NIHSS) พบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งสองที่มีคะแนน NIHSS อยู่ในระดับ 1-6 และ มากกว่า 14 สามารถผ่านการทดสอบและรับประทานทางได้ปากได้ร้อยละ 100 แต่ในกลุ่มตัวอย่างที่มีคะแนน NIHSS อยู่ในระดับ 6-13 ผลการทดสอบจะแตกต่างกันโดยจำนวนของกลุ่มตัวอย่างที่ทดสอบด้วยการกลืนด้วยชุดทดสอบการกลืนจะมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ทดสอบด้วยการกลืนน้ำอย่างเดียว (ร้อยละ 100 และ 87.5 ตามลำดับ)
         ในปัจจุบันได้มีเครื่องมือที่ใช้สำหรับประเมินความสามารถในการกลืนของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหลายแบบ และที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายเรียกว่า Functional Oral Intake Scale (FOIS) (Crary et al., 2005) โดยจะประเมินระดับของการกลืนจากชนิดหรือประเภทของอาหารที่กลืนได้ 
 โดยแบ่งได้ 7 ระดับดังนี้

Level 1          งดการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำทางปาก
Level 2          ยังคงให้อาหารทางสายยางเสริมด้วยทดลองให้รับประทานทางปากเล็กน้อย
Level 3          รับประทานทางปากเหลวนุ่มหรือน้ำทางปากและเสริมด้วยการให้อาหารทางสายยาง
Level 4          รับประทานทางปากด้วยอาหารอ่อนเป็นเนื้อเดียว
Level 5          รับประทานทางปากที่ต้องบด/สับก่อน
Level 6          รับประทานทางปากได้แต่หลีกเลี่ยงอาหารแข็ง
Level 7          รับประทานทางปากได้ตามปกติ

         จะเห็นได้ว่า ในการดูแลและฟื้นฟูผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหรือผู้ป่วยที่มีภาวะการกลืนลำบากเนื่องมาจากการมีความบกพร่องในการทำงานของระบบประสาทนั้น พยาบาลจะต้องเลือกประเภทของอาหารให้เหมาะสมกับความสามารถในการกลืนของผู้ป่วยแต่ละราย โดยพยาบาลจะต้องมีการประเมินความสามารถในการกลืนของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากการสำลักที่อาจขึ้นได้ถ้าอาการของผู้ป่วยยังไม่ได้กลับคืนเข้าสู่สภาวะปกติอย่างแท้จริง นอกจากนี้การเลือกใช้แบบประเมินความสามารถในการกลืนก็ควรให้เหมาะสมกับสภาพของผู้ป่วยแต่ละราย

การลงบันทึก

                                                                  
                                                            


อาจารย์อาภรณ์ คำก้อน ผู้ลิขิต

วันพฤหัสบดีที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2561

โรคกระดูกพรุน(Osteoporesis)

โรคกระดูกพรุน (osteoporosis)  เป็นภาวะที่กระดูกทั่วร่างกายมีมวลกๅระดูกลด น้อยลง และมีการเสื่อมสลายของเนื้อเยื่อกระดูก จนทำให้กระดูกเปราะบางและแตกหักง่ายกว่า ปกติ   อายุ 50 ปี จะเกิดกระดูกหัก 1 คน ใน 8 คน ในคนอายุเกิน 80 ปี จะเกิดกระดูกหัก 70% ปัจจัยเสี่ยงโรคกระดูกพรุน 1. ผู้ที่อยู่ในวัยสูงอายุ โดยเฉพาะเพศหญิง 2. มีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคนี้ 3. หญิงวัยหมดประจำเดือน หรือตัดรังไข่ออกทั้ง 2 ข้าง 4.คนผิวขาวหรือชาวเอเชีย 5. เคลื่อนไหวน้อย หรือไม่ออกกำลังกาย 6. คนที่มีรูปร่างเล็ก ผอม 7. กินอาหารที่มีแคลเซียมน้อย 8. อาหารที่มีไขมันมาก 9.จะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม 10. สูบบุหรี่จัด 11. ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน เช่น กาแฟ น้ำชา ในปริมาณมากๆ เป็นประจำ ผู้ที่กินยาบางชนิดซึ่งทำให้การดูดซึมแคลเซียม เข้าสู่ร่างกายลดลง เช่น ยารักษาไทรอยด์ ยาพวกสเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ เป็นต้น 12.ผู้ที่ป่วยเป็นโรคที่เกิดจากการทำงานของต่อมไร้ท่อผิดปกติ เช่น โรคไทรอยด์ โรคเบาหวาน โรคของต่อมหมวกไต 13. หรือการเข้าเฝือกเป็นระยะเวลานาน     การป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุน   อาหารให้ครบ 5 หมู่ และหลากหลาย มีปริมาณแคลเซียมและวิตามินเพียงพอกับความต้องการของร่างกายในแต่ละวัย ซึ่งปกติควรได้รับแคลเซียมอย่างน้อยที่สุดประมาณวันละ 800 - 1,000 มิลลิกรัม อาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ นมและผลิตภัณฑ์จากนม น้ำปู กุ้งแห้ง ปลาร้าผง กะปิ ปลาเล็กปลาน้อยที่กินทั้งกระดูก ถั่วแดงหลวง งาดำ ถั่วต่างๆ เต้าหู้
ผักใบเขียวต่างๆ เช่น ผักโขม บริคโคลี ผักคะน้า ใบชะพลู ใบยอ ควรลดอาหารที่มีไขมันมากเนื่องจากไขมันจะขัดขวางการดูดซึมแคลเซียม ออ กกำลังกายอย่างถูกวิธี สม่ำเสมอ เหมาะสมกับสภาพร่างกาย เพศ และวัย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 30 นาที เช่น วิ่งเหยาะๆ เดินเร็วๆ แอโรบิก เต้นรำ เป็นต้น ควรงดสูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ไม่ควรซื้อยากินเอง เพราะยาบางชนิดมีผลให่การดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกายลดลง เช่น ยารักษาไทรอยด์ ยาพวกสเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ เป็นต้น ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี